เกี่ยวกับวศูนย์บริการวิชาการ สำนักงานวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
แนะนำหน่วยงาน
วิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี เป็นหน่วยงานเทียบเท่าคณะอยู่ในวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี มีที่ทำการสำนักงานตั้งอยู่ ณ อาคารศูนย์บริการวิชาการกลางและอาคารเรียนรวม (อาคารรูปตัวยู) มีประวัติความเป็นมาดังนี้
สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี และเปิดดำเนินงานครั้งแรกในปี 2533 ต่อมาเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี นับเป็นหน่วยงานแรกที่มีการจัดตั้ง ณ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
วิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานีเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปี 2533 หลักสูตรประกาศนียบัตร สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นหลักสูตรเดียวกับที่เปิดสอน ณ วิทยาลัยชุมชนภูเก็ต และในปีงบประมาณ 2534 ได้ขยายงานเพิ่มขึ้น โดยเปิดรับนักศึกษาเพิ่มอีก 2 สาขา คือ สาขาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ซึ่งต่อมาได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรเป็นอนุปริญญา ทั้ง 3 สาขาวิชา การดำเนินงานจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี หลักสูตรอนุปริญญา ดำเนินการมาถึงปี พ.ศ. 2541 จึงได้ทำการปิดการรับนักศึกษาทั้ง 3 สาขา ในช่วงนี้นอกจากมีภารกิจด้านการเรียนการสอนในระดับอนุปริญญาแล้ววิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี ยังมีภารกิจด้านการบริการวิชาการแก่สังคมในรูปแบบการฝึกอบรมในระยะสั้นอีกด้วย
ในปีการศึกษา 2542 วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการเปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีรุ่นแรก หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาผลิตกรรมชีวภาพ จำนวน 42 คน ซึ่งต่อมาได้มีการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีและการจัดการขึ้นเพื่อรองรับหลักสูตรดังกล่าว และวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี ได้ปรับบทบาทมารับผิดชอบงานจัดการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานระดับปริญญาตรีทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้กับสาขาต่าง ๆ ของคณะเทคโนโลยีและการจัดการที่ได้เปิดเพิ่มขึ้นได้แก่ สาขาวิชาผลิตกรรมชีวภาพ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมชีวภาพ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนการจัดการศึกษาปริญญาโท (ภาคสมทบ) ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์วิทยาเขตปัตตานี ในสาขาวิชาการบริหารการศึกษา การประถมศึกษา และศึกษาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน รวมทั้งดำเนินงานด้านการวิจัย ด้านการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน ได้แก่ การจัดอบรม สัมมนา การเป็นที่ปรึกษาให้หน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ และงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
อย่างไรก็ดี ด้วยบทบาท ภารกิจหลัก ของวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี ทั้งภารกิจด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวิจัยและด้านการบริการวิชาการ ล้วนแล้วแต่จะต้องใช้ระบบการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน และแต่เป็นภารกิจที่อยู่ระหว่างการพัฒนาทั้งสิ้น ดังนั้นหากยังคงต้องดำเนินการไปพร้อมกัน ก็อาจทำให้ดำเนินภารกิจแต่ละด้านได้ไม่ดีนัก โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะจัดตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อทำหน้าจัดการเรียนการสอนรายวิชาพื้นฐาน จนเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 จึงได้มีการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และได้โอนภารกิจการจัดการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานของภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งบุคลากรสายผู้สอนและบุคลากรสายสนับสนุนบางส่วนจากวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี ไปสังกัดคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เสร็จสิ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2549 ทำให้บุคลากรของวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี คงเหลือเพียง 5 คน ประกอบด้วยอาจารย์ 1 คน และบุคลากรสายสนับสนุน 4 คน และภารกิจหลักยังคงเหลือเฉพาะงานวิจัยและบริการวิชาการ และการจัดการศึกษาเฉพาะทาง วันที่ 1 มิถุนายน 2550 ได้มีการสรรหาและแต่งตั้งผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานีมาบริหารงานของวิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี โดยได้มีการกำหนดข้อตกลงภารงานของผู้อำนวยการอย่างชัดเจน จนกระท่งวันที่ 1 ตุลาคม 2551 วิทยาเขต สุราษฎร์ธานี ได้นำระบบการบริหารแบบรวมศูนย์มาใช้ในการดำเนินงานทุกส่วนของวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ทำให้วิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี มีบทบาทภารกิจในการดูแล รับผิดชอบ และสนับสนุนการดำเนินงานด้านการบริการวิชาการให้กับทุกคณะ/หน่วยงานในวิทยาเขตสุราษฎร์ธานีในระบบรวมศูนย์ด้วย
เจตจำนง
วิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี เป็นหน่วยงานเทียบเท่าคณะของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มีภารกิจด้านการบริการวิชาการแก่สังคม และการจัดการศึกษาเฉพาะทาง
วิสัยทัศน์
วิทยาลัยชุมชนสุราษฎร์ธานี
เป็นศูนย์กลางการบริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนและท้องถิ่นภาคใต้ตอนบน
พันธกิจ
เพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และสังคม
และสร้างสรรค์งานบริการวิชาการ/การค้นคว้า วิจัย และพัฒนาวิชาการ ตาม
ความต้องการของหน่วยงานภายใน และความต้องการ
ของชุมชน และสังคม
1. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพองค์กร และ บุคลากรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อ
สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
2. ส่งเสริมการเรียนรู้ และจัดการความรู้ โดยใช้ฐานความรู้ และงานวิจัยของมหาวิทยาลัย เพื่อสร้าง
ความเข้มแข็งของชุมชน และสังคม
3. เป็นหน่วยงานกลางของวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ในการประสาน และสร้างสรรค์งานบริการวิชาการ/
การค้นคว้า วิจัย และพัฒนาวิชาการ ตาม ความต้องการของหน่วยงานภายในภายในและความต้องการ
ของชุมชน และสังคม
4. จัดการศึกษาเฉพาะทาง และการเรียนรู้ตามอัธยาศัย เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษา
5. ส่งเสริม ฟื้นฟู อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
ค่านิยม
โดย
P – Professionalism : เป็นมืออาชีพในการให้บริการวิชาการ
P - Public Mind : เป็นผู้มีจิตสาธารณะ
L- Learning Organization : เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
วัฒนธรรมองค์กร
สามัคคี มีน้ำใจ ใฝ่เรียนรู้
โครงสร้างองค์กร